การจัดการความขัดแย้งในองค์กร
การจัดการความขัดแย้งในองค์กร
องค์การหรือหน่วยงาน เป็นศูนย์รวมของบุคคลมากกว่าหนึ่งคนมาทำงานร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจ และภารกิจที่มีร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกัน การบริหารองค์การโดยผู้นำ ที่เป็นผู้บริหารแต่ละระดับ ย่อมพบปัญหาของบุคคลที่มีความไม่ลงรอยกัน ซึ่งเรียกว่า “ความขัดแย้ง” อาจเนื่องมาจากผลประโยชน์หรือแนวคิด ที่สวนทางกันหรือความเชื่อที่ว่าความปรารถนาในแต่ละฝ่ายไม่สามารถบรรลุได้พร้อมกัน
ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์ที่ทำให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายได้ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มประสบปัญหาของการตัดสินใจ ความขัดแย้งจึงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตร เป็นความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียว ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร
การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
องค์การหรือหน่วยงาน เป็นศูนย์รวมของบุคคลมากกว่าหนึ่งคนมาทำงานร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจ และภารกิจที่มีร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกัน การบริหารองค์การโดยผู้นำ ที่เป็นผู้บริหารแต่ละระดับ ย่อมพบปัญหาของบุคคลที่มีความไม่ลงรอยกัน ซึ่งเรียกว่า “ความขัดแย้ง” อาจเนื่องมาจากผลประโยชน์หรือแนวคิด ที่สวนทางกันหรือความเชื่อที่ว่าความปรารถนาในแต่ละฝ่ายไม่สามารถบรรลุได้พร้อมกัน
ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์ที่ทำให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายได้ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มประสบปัญหาของการตัดสินใจ ความขัดแย้งจึงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตร เป็นความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียว ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร
การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องกล้าเผชิญกับปัญหาและหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยพยายามลดอคติส่วนตัวลง การนำแนวคิดเชิงบูรณาการมาใช้ในการหาทางออกให้แก่ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่ง
ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position)
ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position)
เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย
ระบุปัญหา (Identify the problem)
ระบุปัญหา (Identify the problem)
โดยที่แต่ละฝ่ายต้องสร้างความชัดเจนของปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากมากที่สุด เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งเอาชนะ นำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารต้องตระหนักในการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความเคารพต่อตนเองและฝ่ายตรงกันข้าม ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation)
แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation)
โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ
สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives)
สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives)
โดยให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลงนั้นๆ แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม การเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ผู้บริหารอาจเลือกวิธีการหรือเทคนิคที่จะจัดการหรือบริหารความขัดแย้งในองค์กรเพื่อหาแนวทางแก้ไขและหาเหตุผล ได้แก่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น