วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานที่ 5


การบริหารงานคุณภาพเทคโนโลยีและสารสนเทศคือ


 ISO 9001-2000 ในด้านคุณภาพการผลิตและบริการ ซึ่งเป็นมาตราฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และดำเนินงานภายในค์องค์กร








วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

งานที่ 4

การจัดการความขัดแย้งในองค์กร

การจัดการความขัดแย้งในองค์กร

           องค์การหรือหน่วยงาน เป็นศูนย์รวมของบุคคลมากกว่าหนึ่งคนมาทำงานร่วมกัน ภายใต้วิสัยทัศน์และพันธกิจ และภารกิจที่มีร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกัน การบริหารองค์การโดยผู้นำ ที่เป็นผู้บริหารแต่ละระดับ ย่อมพบปัญหาของบุคคลที่มีความไม่ลงรอยกัน ซึ่งเรียกว่า “ความขัดแย้ง” อาจเนื่องมาจากผลประโยชน์หรือแนวคิด ที่สวนทางกันหรือความเชื่อที่ว่าความปรารถนาในแต่ละฝ่ายไม่สามารถบรรลุได้พร้อมกัน

          ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์ที่ทำให้บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจ หรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่ายได้ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มประสบปัญหาของการตัดสินใจ ความขัดแย้งจึงเป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตร เป็นความตึงเครียดซึ่งเกิดจากความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน อาจเกิดขึ้นได้ในบุคคลคนเดียว ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม เทคนิควิธีการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหาร

 การเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง 
ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องกล้าเผชิญกับปัญหาและหาวิธีการจัดการกับความขัดแย้งให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม โดยพยายามลดอคติส่วนตัวลง การนำแนวคิดเชิงบูรณาการมาใช้ในการหาทางออกให้แก่ตนเองและอีกฝ่ายหนึ่ง

 ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย (Understand each other’s position) 
เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย

 ระบุปัญหา (Identify the problem)
 โดยที่แต่ละฝ่ายต้องสร้างความชัดเจนของปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากมากที่สุด เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างก็มุ่งเอาชนะ นำไปสู่ความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารต้องตระหนักในการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ร่วมกันแก้ปัญหา ให้ความเคารพต่อตนเองและฝ่ายตรงกันข้าม ตลอดจนให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน

 แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก (Search for appropriate alternatives and evaluation)
 โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ

 สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ (Conclusion and implement the appropriate alternatives) 
โดยให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลงนั้นๆ แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม การเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ผู้บริหารอาจเลือกวิธีการหรือเทคนิคที่จะจัดการหรือบริหารความขัดแย้งในองค์กรเพื่อหาแนวทางแก้ไขและหาเหตุผล ได้แก่

งานที่ 3

การจัดการความเสี่ยง


 นิยามความเสี่ยงและการบริการความเสี่ยงขององค์กร

           ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาส/เหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน หรือสิ่งที่ทำให้แผนงานหรือการดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบันไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อองค์กรในที่สุด ทั้งในแง่ ของผลกระทบที่เป็นตัวเงินได้หรือผลกระทบที่มีต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กร

           การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) คือ กระบวนการ ที่ปฏิบัติโดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการก าหนดกลยุทธ์และดำเนินงาน โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการ ออกแบบเพื่อให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อองค์กร และสามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับ ที่องค์กรยอมรับ เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้

กระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร

           กำหนดกระบวนการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ขั้นตอนและวิธีการในการบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีระบบและดำเนินไปในทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยมีขั้นตอนสำคัญของกระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กร ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้

 สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)

          สภาพแวดล้อมภายในองค์กรเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับกรอบการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์และ เป้าหมายขององค์กร การก าหนดกิจกรรม การบ่งชี้ ประเมิน และจัดการความเสี่ยง

          สภาพแวดล้อมภายในองค์กร หมายถึง ปัจจัยต่างๆ เช่น จริยธรรม วิธีการท างานของผู้บริหารและบุคลากร รูปแบบการ จัดการของฝ่ายบริหารและวิธีการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารต้องมีการก าหนดร่วมกันกับ พนักงานในองค์กร ส่งผลให้มีการสร้างจิตสำนึก การตระหนักและรับรู้เรื่องความเสี่ยง และการควบคุมแก่พนักงานทุกคนใน องค์กร

 การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting)

        องค์กรควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้นมีความสอดคล้องกับ เป้าหมายเชิงกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้

 การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) 

          ในกระบวนการบ่งชี้เหตุการณ์ ควรต้องพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงทุกด้านที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ การเงิน บุคลากร การปฏิบัติงาน กฎหมาย ภาษีอากร ระบบงาน สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น แหล่งความ เสี่ยงทั้งจากสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร

 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

         การวิเคราะหค์วามเสี่ยง จะพิจารณาสาเหตุและแหล่งที่มาของความเสี่ยง ผลกระทบที่ตามมาทั้งในทางบวกและทางลบ รวมทั้งโอกาสที่อาจเกิดขึ้นของ ผลกระทบที่อาจตามมา โดยจะต้องมีการระบุถึงปัจจัยที่มีผลต่อผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้เหตุการณ์หรือ สถานการณ์หนึ่งๆ อาจจะเกิดผลที่ตามมาและกระทบต่อวัตถุประสงค์/เป้าหมายหลายด้าน นอกจากนั้นในการวิเคราะห์ควร พิจารณาถึงมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ด าเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน รวมถึงประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าวด้วย

        การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงจะเปรียบเทียบระหว่างระดับของความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ความเสี่ยง เทียบกับระดับความเสี่ยงที่ ยอมรับได้ (Risk Appetite) ในกรณีที่ระดับของความเสี่ยงไม่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ของเกณฑ์การยอมรับความเสี่ยง ความ เสี่ยงดังกล่าวจะได้รับการจัดการทันที

การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response)

        การกำหนดแผนจัดการความเสี่ยงจะมีการนำเสนอแผนจัดการความเสี่ยงที่จะดำเนินการต่อที่ประชุมคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณา และขออนุมัติการจัดสรรทรัพยากรที่จ าเป็นต้องใช้ด าเนินการ (ถ้ามี) โดยในการคัดเลือกแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่ เหมาะสมที่สุดจะคำนึงถึงความเสี่ยงที่ยอมรับได้(Risk Appetite) กับต้นทุนที่เกิดขึ้นเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงข้อกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม

กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)

          กิจกรรมการควบคุม คือ นโยบายและกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ สามารถยอมรับได้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กรเนื่องจากแต่ละองค์กรมีการกำหนด วัตถุประสงค์และเทคนิคการนำไปปฏิบัติเป็นของเฉพาะองค์กร ดังนั้นกิจกรรมการควบคุมจึงมีความแตกต่างกัน

   

ข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร (Information and Communication)

        สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในการบ่งชี้ ประเมิน และจัดการความเสี่ยง ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรทั้งจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอกองค์กรควรได้รับการบันทึกและสื่อสารไปยังบุคลากรในองค์ก รอย่าง เหมาะสมทั้งในด้านรูปแบบและเวลา เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบได้ รวมถึงเป็นการ รายงานการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และผลของการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น

การติดตาม (Monitoring)

        กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่ดำเนินการภายในมีความจำเป็นต้องได้รับการสื่อสารถึงการประเมินความเสี่ยงและ การควบคุม ความคืบหน้าในการบริหารความเสี่ยงการดูแลติดตามแนวโน้มของความเสี่ยงหลัก รวมถึงการเกิดเหตุการณ์ ผิดปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า

เจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) มีการติดตาม ประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงที่อยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของตนอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสม
 ความเสี่ยงที่มีผลกระทบส าคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ได้รับการรายงานถึงความคืบหน้าในการ บริหารความเสี่ยง และแนวโน้มของความเสี่ยงต่อผู้บริหารที่รับผิดชอบและคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
  ระบบการควบคุมภายในที่วางไว้มีความเพียงพอ เหมาะสม มีประสิทธิผล และมีการน ามาปฏิบัติใช้จริงเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งมีการปรับปรุงแก้ไขการควบคุมภายในอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์หรือความเสี่ยงที่เปลี่ยนไป

งานที่ 2



การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร



กิจกรรม 5ส เป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นระบบมีแนวปฏิบัติ ที่เหมาะสมสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขงานและรักษาสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น ทั้งในส่วนงานด้านการผลิต และด้านการบริการ ซึ่งนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ได้อีกทางหนึ่ง
  สะสาง Seiri (เซริ) (ทำให้เป็นระเบียบ) คือ การแยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป
สะดวก Seiton (เซตง) = สะดวก (วางของในที่ที่ควรอยู่) คือ การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้งานได้ทันที
 สะอาด Seiso (เซโซ) = สะอาด (ทำความสะอาด) คือการปัดกวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้สะอาดอยู่เสมอ
 สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ (รักษาความสะอาด) คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก และสะอาดให้ดีตลอดไป
 สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) = สร้างนิสัย (ฝึกให้เป็นนิสัย) คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่งที่ กำหนดไว้แล้วอย่างถูกต้องจนติดเป็นนิสัย
5ส เป็นเทคนิคที่ทุกคนสามารถเข้าใจแนวทางการปฏิบัติได้ง่าย อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงเครื่องมือ
ทำความสะอาด ซึ่งใช้งบประมาณต่ำ ผู้ทำ 5ส ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมเป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติ
เป็นกลุ่มพื้นที่ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการทำงานเป็นทีม สมาชิกในพื้นที่ได้ร่วมกันวางแผน
และลงมือปรับปรุงพื้นที่ ปฏิบัติงานของตนเอง และกลุ่มกิจกรรม 5ส ยังช่วยเสริมสร้างทักษะ
การเป็นผู้นำให้แก่หัวหน้าพื้นที่อีกด้วย
เห็นผลที่เป็นรูปธรรม พื้นที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
มีการจัดเก็บสิ่งของเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาของหรือเอกสาร การปรับปรุง
ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และเป็นรูปธรรม ส่งเสริมการสร้างนิสัย และการมีวินัยในหน่วยงาน
การปฏิบัติกิจกรรม 5ส อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันจะเสริมสร้าง
ลักษณะนิสัยและความเป็น ระเบียบ วินัยให้แก่ผู้ปฏิบัติกิจกรรม สิ่งของในที่ทำงานมีความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้การทำงาน มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของ 5ส

5ส มีคุณค่าในการพัฒนาคนให้ปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดเป็นนิสัยที่ดีมีวินัย อันเป็นรากฐานของระบบคุณภาพเพราะเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ทุกคนร่วมกันคิด ร่วมกันทำเป็นทีม ค่อยเป็นค่อยไปไม่ยุ่งยาก ไม่รู้สึกว่าการปฏิบัติงานอย่างมีระเบียบวินัยเป็นภาระเพิ่มขึ้นอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การดังต่อไปนี้
  1. สิ่งแวดล้อมในการทำงานดี เป็นการเพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน
  2. ลดอุบัติเหตุในการทำงาน
  3. ลดความสิ้นเปลืองในการจัดซื้อวัสดุเกินความจำเป็น
  4. ลดการสูญหายของวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ
  5. พื้นที่การทำงานเพิ่มขึ้นจากการขจัดวัสดุที่เกินความจำเป็นออกไป
  6. เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
  7. สถานที่ทำงานสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นกับลูกค้า
  8. พนักงานมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมมากขึ้น
  9. สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของต่อองค์การของพนักงาน

องค์ประกอบของ 5ส

กิจกรรม 5ส นั้น ส.ทุกตัวจะถูกกำหนดคำนิยามไว้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องดังนี้
ส1 : สะสาง คือการแยกของที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็นและขจัดของที่ไม่จำเป็นออกไปโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 3 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • สำรวจ
  • แยก
  • ขจัด
ส2 : สะดวก คือการจัดวางหรือจัดเก็บสิ่งของต่างๆในสถานที่ทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อความ สะดวกปลอดภัยและคงไว้ซึ่งคุณภาพประสิทธิภาพในการทำงานโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • กำหนดของที่จำเป็น
  • แบ่งหมวดหมู่
  • จัดเก็บให้เป็นระบบมีระเบียบ
  • บ่อยอยู่ใกล้นานๆใช้อยู่ไกล
ส3 : สะอาด คือการทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่และใช้ เป็นการตรวจสอบและบำรุงรักษาไปด้วยโดยกำหนดขั้นตอนไว้ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย
  • กำหนดพื้นที่รับผิดชอบ
  • ขจัดต้นเหตุของความสกปรก
  • ทำความสะอาดแม้แต่จุดเล็กๆ
  • ปัด กวาด เช็ด ถู พื้นให้สะอาด
ส4 : สร้างมาตรฐาน คือการรักษามาตรฐานของความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้คงอยู่ตลอดไป
  • ไม่มีสิ่งของไม่จำเป็นอยู่ในพื้นที่
  • ไม่มีสภาพรกรุงรัง
  • ไม่มีสิ่งสกปรกตกค้าง
ส5 : สร้างนิสัย คือการสร้างนิสัยในการมีจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานตามระเบียบและข้อบังคับอย่างเคร่งครัดรวมทั้ง อบรมให้พนักงานรู้จักค้นคว้า และปรับปรุงสถานที่ทำงาน
  • Visual Control
  • วัดประสิทธิผลการทำ 5ส
  • ประกวดคำขวัญ 5ส
  • เปรียบเทียบภาพก่อนทำ-หลังทำ 5ส

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563



เป็นการจัดโครงสร้างองค์การแบบ ตามหน้าที่การงาน
          หมายถึง โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่การงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้าง ซึ่งผลดีก่อให้เกิดการได้คนมีความสามารถทำงานในแผนกนั้น ๆ ทั้งยังฝึกบุคคลในแผนกนั้น ๆ







 ให้มีความเชี่ยวชาญกับหน้าที่ของงานนั้นอย่างลึกซึ้ง สำหรับฝ่ายบริหารระดับสูงนั้นก็เป็นเพียงแต่กำหนดนโยบายไว้กว้าง ๆ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอยป้อนข้อมูลที่ถูกต้องให้พิจารณาตัดสินใจและให้มีความผิดพลาดได้น้อยมาก อีกประการหนึ่งในแต่ละแผนกนั้น เมื่อทุกคนมีความเชี่ยวชาญงานในหน้าที่ชนิดเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดการประสานงานได้ง่ายเนื่องจากแต่ละคนมีความสนใจในงานและใช้ภาษาเดียวกัน ทำให้สามารถสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีได้ง่ายนอกจากนั้น การบริหารงานก็เกิดความประหยัดด้วย เพราะแต่ละแผนกได้ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสร้างผลิตผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้เครื่องจักรและแรงงานก็ใช้ได้ผลคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม การจัดรูปแบบองค์การแบบนี้ก็มีผลเสียในทางการบริหารหลายประการ อาทิเช่น การแบ่งงานออกเป็นหลายแผนกและมีผู้เชี่ยวชาญหลายคน ทำให้การวางแผนงานยุ่งยากขึ้น อาจมีการปัดความรับผิดชอบได้ นอกจากนั้นการจัดองค์การรูปแบบนี้มักเน้นที่การรวมอำนาจไว้ ณ จุดที่สูงที่สุด ไม่มีการกระจายอำนาจในการบริหารให้ลดหลั่นลงไป







วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การควบคุม RC Servo Motor ด้วย Arduino

"ตัวอย่างการควบคุม RC Servo Motor ด้วย Arduino"
01
RC Servo Motor รุ่นที่มีจำหน่าย:
          Servo เป็นคำศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปในระบบควบคุมอัตโนมัติ มาจากภาษาละตินคำว่า Sevus หมายถึง “ทาส” (Slave) ในเชิงความหมายของ Servo Motor ก็คือ Motor ที่เราสามารถสั่งงานหรือตั้งค่า แล้วตัว Motor จะหมุนไปยังตำแหน่งองศาที่เราสั่งได้เองอย่างถูกต้อง โดยใช้การควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) ในบทความนี้จะกล่าวถึง RC Servo Motor ซึ่งนิยมนำมาใช้ในเครื่องเล่นที่บังคับด้วยคลื่นวิทยุ (RC = Radio - Controlled) เช่น เรือบังคับวิทยุ รถบังคับวิทยุ เฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุ เป็นต้น
          Feedback Control คือ ระบบควบคุมที่มีการวัดค่าเอาต์พุตของระบบนำมาเปรียบเทียบกับค่าอินพุตเพื่อควบคุมและปรับแต่งให้ค่าเอาต์พุตของระบบให้มีค่า เท่ากับ หรือ ใกล้เคียงกับค่าอินพุต 
ส่วนประกอบภายนอก RC Servo Motor
02
- Case ตัวถัง หรือ กรอบของตัว Servo Motor
- Mounting Tab ส่วนจับยึดตัว Servo กับชิ้นงาน
- Output Shaft เพลาส่งกำลัง
- Servo Horns ส่วนเชื่อมต่อกับ Output shaft เพื่อสร้างกลไกล
- Cable สายเชื่อมต่อเพื่อ จ่ายไฟฟ้า และ ควบคุม Servo Motor จะประกอบด้วยสายไฟ 3 เส้น และ ใน RC Servo Motor จะมีสีของสายแตกต่างกันไปดังนี้ 
         o สายสีแดง คือ ไฟเลี้ยง (4.8-6V)
         o สายสีดำ หรือ น้ำตาล คือ กราวด์
         o สายสีเหลือง (ส้ม ขาว หรือฟ้า) คือ สายส่งสัญญาณพัลซ์ควบคุม (3-5V) 
- Connector จุดเชื่อมต่อสายไฟ 
ส่วนประกอบภายใน RC Servo Motor
03Ref: www.pololu.com
1. Motor เป็นส่วนของตัวมอเตอร์
2. Gear Train หรือ Gearbox เป็นชุดเกียร์ทดแรง
3. Position Sensor เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งเพื่อหาค่าองศาในการหมุน
4. Electronic Control System เป็นส่วนที่ควบคุมและประมวลผล 
Servo Motor Block Diagram
04
หลักการทำงานของ RC Servo Motor 
             เมื่อจ่ายสัญญาณพัลซ์เข้ามายัง RC Servo Motor ส่วนวงจรควบคุม (Electronic Control System) ภายใน Servo จะทำการอ่านและประมวลผลค่าความกว้างของสัญญาณพัลซ์ที่ส่งเข้ามาเพื่อแปลค่าเป็นตำแหน่งองศาที่ต้องการให้ Motor หมุนเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งนั้น แล้วส่งคำสั่งไปทำการควบคุมให้ Motor หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยมี Position Sensor เป็นตัวเซ็นเซอร์คอยวัดค่ามุมที่ Motor กำลังหมุน เป็น Feedback กลับมาให้วงจรควบคุมเปรียบเทียบกับค่าอินพุตเพื่อควบคุมให้ได้ตำแหน่งที่ต้องการอย่างถูกต้องแม่นยำ
สัญญาณ RC ในรูปแบบ PWM
            ตัว RC Servo Motor ออกแบบมาใช้สำหรับรับคำสั่งจาก Remote Control ที่ใช้ควบคุมของเล่นด้วยสัญญาณวิทยุต่างๆ เช่น เครื่องบินบังคับ รถบังบังคับ เรือบังคับ เป็นต้น ซึ่ง Remote จำพวกนี้ที่ภาครับจะแปลงความถี่วิทยุออกมาในรูปแบบสัญญาณ PWM (Pulse Width Modulation)
05           มุมหรือองศาจะขึ้นอยู่กับความกว้างของสัญญาณพัลซ์ ซึ่งโดยส่วนมากความกว้างของพัลซ์ที่ใช้ใน RC Servo Motor จะอยู่ในช่วง 1-2 ms หรือ 0.5-2.5 ms 
           ยกตัวอย่างเช่นหากกำหนดความกว้างของสัญญาณพัลซ์ไว้ที่ 1 ms ตัว Servo Motor จะหมุนไปทางด้ายซ้ายจนสุด ในทางกลับกันหากกำหนดความกว้างของสัญญาณพัลซ์ไว้ที่ 2 ms ตัว Servo Motor จะหมุนไปยังตำแหน่งขวาสุด แต่หากกำหนดความกว้างของสัญญาณพัลซ์ไว้ที่ 1.5 ms ตัว Servo Motor ก็จะหมุนมาอยู่ที่ตำแหน่งตรงกลางพอดี
06
           ดังนั้นสามารถกำหนดองศาการหมุนของ RC Servo Motor ได้โดยการเทียบค่า เช่น RC Servo Motor สามารถหมุนได้ 180 องศา โดยที่ 0 องศาใช้ความกว้างพัลซ์เท่ากับ 1000 us ที่ 180 องศาความกว้างพัลซ์เท่ากับ 2000 us เพราะฉะนั้นค่าที่เปลี่ยนไป 1 องศาจะใช้ความกว้างพัลซ์ต่างกัน (2000-1000)/180 เท่ากับ 5.55 us
           จากการหาค่าความกว้างพัลซ์ที่มุม 1 องศาข้างต้น หากต้องกำหนดให้ RC Servo Motor หมุนไปที่มุม 45 องศาจะหาค่าพัลซ์ที่ต้องการได้จาก 5.55 x 45 เท่ากับ 249.75 us แต่ที่มุม 0 องศาเราเริ่มที่ความกว้างพัลซ์ 1ms หรือ 1000 us เพราะฉะนั้นความกว้างพัลซ์ที่ใช้กำหนดให้ RC Servo Motor หมุนไปที่ 45 องศา คือ 1000 + 249.75 เท่ากับประมาณ 1250 us
07
วิธีควบคุม RC Servo Motor ด้วย Arduino
            Arduino มีไลบรารี่สำหรับสั่งงาน RC Servo Motor มาให้ใช้งานอยู่แล้วเป็นฟังก์ชั่นสำเร็จรูปและใช้งานได้ง่ายในหน้าเว็บไซต์ http://arduino.cc/en/reference/servo ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า Servo Library ของ Arduino สามารถสั่งงาน RC Servo Motor ได้ทั้งแบบหมุนไป-กลับได้ 0-180 องศา (ที่กล่าวถึงตามตัวอย่างข้างต้น) และแบบต่อเนื่องที่หมุนครบรอบได้เรียกว่าเป็น Continuous Rotation Servo (ซึ่งในช่วงท้ายบทความจะกล่าวถึงเพิ่มเติม) โดยสามารถรองรับการเชื่อมต่อ RC Servo Motor ได้ถึง 12 ตัวกับบอร์ด Arduino UNO และรองรับสูงสุดถึง 48 ตัวหากใช้บอร์ด Arduino Mega 
ฟังก์ชั่นภายใน Servo Library
- attach()
- write()
- writeMicroseconds()
- read()
- attached()
- detach()
attach()
Description
          คือฟังก์ชั่นที่ใช้ในการกำหนดขาสัญญาณที่ Servo Motor ต่อกับ Arduino และกำหนดความกว้างของพัลซ์ที่ 0 องศาและ 180 องศา 
Syntax
          Servo.attach(pin)
          Servo.attach(pin,min,max)
Parameters
          Pin: คือ ขาสัญญาณของ Arduino ที่ใช้เชื่อมต่อกับ Servo Motor
          Min: คือ ความกว้างของพัลซ์ที่ 0 องศาของ Servo ตัวที่ใช้ในหน่วยไมโครวินาที (us) โดยปกติแล้วหากไม่มีการตั้งค่าโปรแกรมจะกำหนดค่าไว้ที่ 544 us
          Max: คือ ความกว้างของพัลซ์ที่ 180 องศาของ Servo ตัวที่ใช้ในหน่วยไมโครวินาที (us) โดยปกติแล้วหากไม่มีการตั้งค่าโปรแกรมจะกำหนดค่าไว้ที่ 2400 us
Write()
Description
          คือฟังก์ชั่นที่ใช้ควบคุมตำแหน่งที่ต้องการให้ Servo Motor หมุนไปยังองศาที่กำหนดสามารถกำหนดเป็นค่าองศาได้เลย คือ 0-180 องศา แต่ใน Servo Motor ที่เป็น Full Rotation คำสั่ง write จะเป็นการกำหนดความเร็วในการหมุน โดย 
          ค่าเท่ากับ 90 คือคำสั่งให้ Servo Motor หยุดหมุน
          ค่าเท่ากับ 0 คือการหมุนด้วยความเร็วสูงสุดในทิศทางหนึ่ง
          ค่าเท่ากับ 180 คือการหมุนด้วยความเร็วสูงสุดในทิศทางตรงกันข้าม
Syntax
          servo.write(angle)
Parameters
          Angle: คือมุมที่ต้องการให้ RC Servo Motor แบบ 0-180 องศาหมุนไป แต่หากเป็น RC Servo Motor แบบ Full Rotation ค่า Angle คือ การกำหนดความเร็วและทิศทางในการหมุน
writeMicroseconds()
Description
          คือฟังก์ชั่นที่ใช้ควบคุมตำแหน่งที่ให้ Servo Motor หมุนไปยังตำแหน่งองศาที่กำหนดโดยกำหนดเป็นค่าความกว้างของพัลซ์ในหน่วย us ซึ่งปกติแล้ว RC Servo Motor จะใช้ความกว้างของพัลซ์อยู่ที่ 1000-2000 us ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่ RC Servo Motor บางรุ่นหรือบางยี่ห้อไม่ได้ใช้ ช่วงความกว้างของพัลซ์ตามที่ได้กล่าวเอาไว้นี้ อาจจะใช้ช่วง 700-2300 แทนก็สามารถใช้ฟังก์ชั่น writeMicroseconds นี้เพื่อกำหนดความกว้างพัลซ์ได้เอง
          การใช้ฟังก์ชั่น writeMicroseconds สามารถกำหนดค่าได้อิสระ ตรงนี้ ”ต้องระวังในการใช้งาน” หากสั่งงาน RC Servo Motor (แบบ 0 - 180 องศา) จนหมุนไปเกินจุดสิ้นสุดคือเกินทั้งฝั่ง 0 หรือ 180 องศา จะทำให้เกิดเสียงครางดังจากการหมุนไปต่อไม่ได้และมอเตอร์จะกินกระแสสูงขึ้นด้วยในเวลาเดียวกันนั้น ซึ่งอาจทำให้ RC Servo Motor เกิดความเสียหายได้
Syntax
          servo.writeMicroseconds(uS)
Parameters
          uS: คือค่าความกว้างของพัลซ์ที่ต้องการกำหนดในหน่วยไมโครวินาที (โดยตัวแปร int)
read()
Description
          คือฟังก์ชั่นอ่านค่าองศาที่สั่งเข้าไปด้วยฟังก์ชั่น write() เพื่อให้รู้ว่าตำแหน่งองศาสุดท้ายที่เราสั่งเข้าไปนั้นมีค่าเท่าไหร่ซึ่งค่าที่อ่านออกมานั้นจะมีค่าอยู่ในช่วง 0 - 180 
Syntax
          servo.read()
Parameters
          ไม่มี: จะ Return ค่า 0-180
attached()
Description
           คือฟังก์ชั่นตรวจสอบว่า Servo ที่เราต้องการใช้กำลังต่ออยู่กับขสัญญาณของ Arduino หรือไม่
Syntax
           servo.attached()
Parameters
           ไม่มี: จะ Return ค่า True ออกมา หาก Servo Motor เชื่อมต่ออยู่กับ Arduino แต่ถ้าหาก Return ออกมาเป็นค่าอื่นถือว่าไม่เชื่อมต่อ
detach()
Description
           คือฟังก์ชั่นคืนสถานะของขาที่เรากำหนดให้เป็นขาควบคุม Servo Motor ด้วยคำสั่ง attached() ให้กลับคือสู่การใช่งานปกติ
Syntax
           servo.detach()
Parameters
           ไม่มี
ตัวอย่างการเชื่อมต่อ RC Servo Motor เข้ากับบอร์ด Arduino
08
อุปกรณ์ RC Servo Motor ที่ใช้ในบทความ :  EFDV245 Futaba S3003 Servo Motor
โค้ดตัวอย่างการควบคุมตำแหน่ง RC Servo Motor
?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
#include <Servo.h>
Servo myservo;  
void setup()
{
  myservo.attach(9);
}
void loop()
{       myservo.write(0);
        delay(1000);     
        myservo.write(90);
        delay(1000);     
        myservo.write(180);
        delay(1000);                    
}

ผลการทำงานของโค้ด

09
myservo.write(0); 
delay(1000);
Servo Motor จะหมุนไปที่ตำแหน่ง 0 องศา และ หยุดเป็นเวลา 1 วินาที 
10
myservo.write(90); 
delay(1000);
Servo Motor จะหมุนไปที่ตำแหน่ง 90 องศา และ หยุดเป็นเวลา 1 วินาที
11
myservo.write(90); 
delay(1000);
Servo Motor จะหมุนไปที่ตำแหน่ง 180 องศา และ หยุดเป็นเวลา 1 วินาที
จากนั้นจะหมุนกลับไปที่ตำแหน่ง 0 องศา และวนรอบไปเช่นนี้เรื่อยๆ
โค้ดตัวอย่างการควบคุมตำแหน่ง RC Servo Motor แบบ Sweep
?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
#include <Servo.h>
Servo myservo;        //create servo object to control a servo
                              // a maximum of eight servo objects can be created
int pos = 0;             // variable to store the servo position
void setup(){
       myservo.attach(9); // attaches the servo on pin 9 to the servo object
}
 
void loop(){
       for(pos = 0; pos < 180; pos += 1) // goes from 0 degrees to 180 degrees
      {
            myservo.write(pos); // tell servo to go to position in variable 'pos'
            delay(15); // waits 15ms for the servo to reach the position
       }
       for(pos = 180; pos>=1; pos-=1)// goes from 180 degrees to 0 degrees
      {
            myservo.write(pos); // tell servo to go to position in variable 'pos'
           delay(15); // waits 15ms for the servo to reach the position
      }
}
ผลการทำงานของโค้ด
for(pos = 0; pos < 180; pos += 1){
myservo.write(pos);
delay(15);
}
            ลูป for กำหนดให้ค่า pos มีค่าเท่ากับ 0 และทุกๆ การทำงานคำสั่งภายใน for loop ค่า pos จะเพิ่มค่าขึ้น 1 ค่า จนจนถึง 180 ก็จะหลุดออกจาก loop
           ภายใน loop for คำสั่ง myservo.write(pos); ก็คือการกำหนดให้ Servo Motor หมุนไปยังตำแหน่ง มุมตามค่าในตัวแปร pos และหน่วงเวลา 15ms ด้วยคำสั่ง delay(15); ดังนั้น Servo Motor จะค่อยๆ หมุนอย่างช้าๆ จากตำแหน่ง 0 องศาไปที่ 180 องศา
for(pos = 180; pos>=1; pos-=1) 

myservo.write(pos);
delay(15); 
}
           ใน loop for ที่สองนี้จะทำงานเช่นเดียวกับใน loop for แรกเพียงแต่เปลี่ยนค่าเริ่มต้นจาก 180 เป็น 0 และลดลงค่าลง 1 ค่าทุกๆ การทำงาน 1 รอบ ส่งผลให้ Servo Motor จะหมุนจากตำแหน่งมุม 180 องศา ไปยังมุม 0 องศาอย่างช้าๆ 
           !!! ทดลองเพิ่มค่าในคำสั่ง delay() ให้มากขึ้นจะพบว่า Servo Motor จะหมุนช้าลงและในทางกลับกันหากลดค่าใน delay() ลงจะพบว่า Servo Motor จะหมุนเร็วขึ้น
ตัวอย่างการควบคุมตำแหน่ง RC Servo Motor โดยใช้ Potentiometer
13
โค้ดตัวอย่างการควบคุมตำแหน่ง RC Servo Motor โดยใช้ Potentiometer
?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
#include <Servo.h>
Servo myservo; // create servo object to control a servo
int potpin = 0; // analog pin used to connect the potentiometer
int val; // variable to read the value from the analog pin
 
  
 
void setup(){
         myservo.attach(9); // attaches the servo on pin 9 to the servo object
}
void loop(){
         val = analogRead(potpin); // reads the value of the potentiometer (value // between 0 and 1023)
         val = map(val, 0, 1023, 0, 179); // scale it to use it with the servo (value
                                                        // between 0 and 180)
         myservo.write(val); // sets the servo position according to the
                                      // scaled value
         delay(15); // waits for the servo to get there
}
ผลการทำงานของโค้ด
val = analogRead(potpin); 
           อ่านค่า Analog จาก Potentiometer ที่ต่ออยู่ที่ขา A0 เก็บไว้ในตัวแปร val
val = map(val, 0, 1023, 0, 179);
           เนื่องจาก ADC ภายใน Arduino เป็น ADC ขนาด 10-bit จึงอ่านค่า Analog ได้ตั้งแต่ 0 – 1023 แต่ RC Servo Motor สามารถหมุนได้เพียงแค่ 1-180 องศา จึงต้องใช้ Function map เพื่อทำการสเกลค่าลงจาก 0-1023 เป็น 0-179 แล้วนำไปเก็บไว้ในตัวแปร val 
myservo.write(val);
           เมื่อสเกลค่า จาก 0-1023 ลงเหลือ 0-179 แล้วก็นำมาสั่งให้ Servo Motor หมุนไปยังตำแหน่งในค่าตัวแปร val
delay(15); 
           หน่วงเวลา 15 ms
ผลของการทำงานทำให้สามารถปรับตำแหน่งองศาของ Servo Motor ได้โดยการหมุนปรับค่า Potentiometer
Continuous Rotation Servo
14
           Continuous Rotation Servo คือ RC Servo Motor แบบที่สามารถหมุนได้ 360 องศา ส่วนประกอบภายนอกนั้นจะมีหน้าตาคล้ายกับ RC Servo Motor แบบที่หมุนได้ 180 องศา เพียงแต่จะมี Potentiometer เพื่อใช้สำหรับปรับ ตำแหน่ง Center Stop Adjust ของตัว Servo 
           ลักษณะการใช้งาน RC Servo Motor ชนิดนี้จะแตกต่างจากการใช้งาน RC Servo Motor แบบ 180 องศาตรงที่ Servo ชนิดนี้จะใช้ความกว้างของสัญญาณพัลซ์ในการกำหนดความเร็วและทิศทางในการหมุน ไม่ได้ใช้เพื่อกำหนดมุมจึงไม่สามารถกำหนดให้ Motor หมุนไปยังตำแหน่งมุมต่างๆ ตามความต้องการได้ สัญญาณความกว้างของพัลซ์ที่ใช้ควบคุมจะอยู่ในช่วง 1000-2000 us แต่จะมีความแตกในความหมายของแต่ละความกว้างของพัลซ์ดังนี้
           ความกว้าง 1000 us หมายถึงการหมุนไปทางซ้ายด้วยความเร็วสูงสุดที่ Servo Motor จะหมุนได้ 
15
            ความกว้าง 1500 us หมายถึงการสั่งให้ Servo Motor หยุดหมุน
16
            ความกว้าง 2000 us หมายถึงการหมุนไปทางขวาด้วยความเร็วสูงสุดที่ Servo Motor จะหมุนได้
17
การ Calibrate Center Stop
            ในการใช้งาน Continuous Rotation Servo เมื่อซื้อมาใหม่หรือใช้งานไปสักระยะหนึ่งจุด Center Stop อาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งแม้เราสั่งให้สัญญาณพัลซ์มีความกว้างเท่ากับ 1500 us ไป Continuous rotation servo ก็จะไม่หยุดหมุน เราจึงต้องปรับตั้งค่า Center Stop ดังนี้ 
- ต่อ Continuous rotation servo เข้ากับ Arduino
18
- เขียนโปรแกรมจ่ายความกว้างพัลซ์ 1500 us ให้กับ Servo Motor
#include <Servo.h>
Servo myServo;
void setup() {
          myServo.attach(9);
          myServo.writeMicroseconds(1500); // Stop 
}
- เมื่อรันโปรแกรมจ่ายความกว้างพัลซ์ 1500 us แล้ว Servo Motor ไม่หยุดหมุน ให้ใช้ไขควงขนาดเล็กหมุนปรับ Center Stop Adjust จน Servo Motor หยุดหมุน

19
การควบคุม Continuous Rotation Servo โดยใช้ Potentiometer ปรับความเร็วและทิศทางการหมุน
20
โค้ดตัวอย่างการควบคุม Continuous Rotation Servo โดยใช้ Potentiometer
?
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
#include <Servo.h>
Servo myservo; // create servo object to control a servo
int potpin = 0; // analog pin used to connect the potentiometer
int val; // variable to read the value from the analog pin
void setup(){
          myservo.attach(9); // attaches the servo on pin 9 to the servo object
}
void loop(){
          val = analogRead(potpin); // reads the value of the potentiometer (value // between 0 and 1023)
          val = map(val, 0, 1023, 0, 179); // scale it to use it with the servo (value // between 0 and 180)
          myservo.write(val); // sets the servo position according to the scaled value
          delay(15); // waits for the servo to get there
}
!!! โค้ดเหมือนกับตัวอย่าง RC Servo Motor โดยใช้ Potentiometer แต่ผลการทำงานจะแตกต่างกัน
ผลการทำงานของ Code
val = analogRead(potpin); 
          อ่านค่า Analog จาก Potentiometer ที่ต่ออยู่ที่ขา A0 เก็บไว้ในตัวแปร val
val = map(val, 0, 1023, 0, 179);
          เนื่องจาก ADC ภายใน Arduino เป็น ADC ขนาด 10-bit จึงอ่านค่า Analog ได้ตั้งแต่ 0-1023 แต่ Continuous Rotation Servo รับค่าได้ในช่วง 1-180 จึงต้องใช้ Function map เพื่อสเกลค่าจาก 0-1023 เป็น 0-179 แล้วนำไปเก็บไว้ในตัวแปร val
myservo.write(val);
          เมื่อสเกลค่า จาก 0-1023 ลงเหลือ 0-179 แล้วก็นำมาสั่งให้ Servo Motor หมุนในความเร็วและ ทิศทางตามค่าความกว้างของพัลซ์ที่จ่ายออกไป
delay(15); 
          หน่วงเวลา 15 ms
          ผลของการทำงานในโค้ดนี้จะเห็นได้ว่า หากปรับ Potentiometer ไปทางด้านใดด้านหนึ่งจนสุด Continuous Rotation Servo จะหมุนในทิศทางหนึ่งด้วยความเร็วสูงสุดและเมื่อเราค่อยๆ ปรับ Potentiometer กลับมาให้มาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลาง Servo Motor จะค่อยหมุนช้าลงแต่ยังหมุนในทิศทางเดิม และจะหยุดสนิทหากเราปรับ Potentiometer มาที่ตำแหน่งกึ่งกลางพอดี เมื่อปรับ Potentiometer เกินกว่า ครึ่งหนึ่งในทิศตรงกันข้าม Servo Motor จะเปลี่ยนทิศการหมุน แต่จะหมุนอย่างช้าๆ และจะค่อยๆหมุนเร็วขึ้นเมื่อเราปรับ Potentiometer มากขึ้น

งานที่ 5

การบริหารงานคุณภาพเทคโนโลยีและสารสนเทศคือ   ISO 9001-2000  ในด้านคุณภาพการผลิตและบริการ ซึ่งเป็นมาตราฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้คว...